วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2021 เวลา 00:00 น.
เขียนโดย nayanawut
สิทธิของประชาชน ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีอะไรบ้าง?
Â
พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 คืออะไร?
การให้ประชาชนมีโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆของรัฐ เพื่อที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมือง เพื่อพัฒนาระบบประชาธิปไตยให้มั่นคง ส่งผลให้ประชาชนได้มีโอกาสรู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะปกป้องรักษาผลประโยชน์ของตนประการหนึ่ง กับสมควรคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปอีกประการหนึ่ง
Â
สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชการอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 58 บัญญัติว่าบุคคลมีสิทธิรับทราบและข้อถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้น จะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยสิทธิของประชาชนตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 มีดังนี้
Â
1.สิทธิต้องรู้ ตามมาตรา 7
หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสาร ดังต่อไปนี้ ลงราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนรู้ เช่น กฎ ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบาย ที่มีผลบังคับกับประชาชน เป็นต้น
Â
2.สิทธิได้รู้ ตามมาตรา 9
หน่วยงานของรัฐต้องจัดข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนตรวจดูได้โดยไม่ต้องมีคาขอ
เช่น แผนงาน โครงการ งบประมาณรายจ่ายประจำปี การจัดซื้อจัดจ้าง เอกสารสัญญา
ข้อมูลการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นต้น โดยสามารถยื่นคำร้องขอดูได้ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร องค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ โทร 032-465110
Â
3.สิทธิขอดูข้อมูล ตามมาตรา 11
ประชาชนสามารถขอดูหรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารนอกเหนือจากข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 และ 9 โดยไม่ต้องเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสามารถยื่นคำร้องขอดูได้ ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร องค์การบริหารส่วนตำบลวังจันทร์ โทร 032-465110
Â
Â
4.สิทธิร้องเรียน ตามมาตรา 13 และ 33
กรณีหน่วยงานของรัฐไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้ภายใน 15 วัน (มาตรา 13) หรือปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสาร (มาตรา 33) ประชาชนสามารถใช้สิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
Â
5.สิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูล ตามมาตรา 17
ประชาชนมีสิทธิคัดค้าน การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่มีผลกระทบกับตนเองได้ ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทำหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาคำคัดค้านและแจ้งผลการพิจารณาโดยไม่ชักช้า
Â
6.สิทธิอุทธรณ์ ตามมาตรา 18
กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำขอ ประชาชนสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ ภายใน 15 วัน ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งคำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
Â
7.สิทธิรับและแก้ไขข้อมูล ตามมาตรา 25
บุคคลมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารของตนเองจากหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นได้ ถ้าพบว่าข้อมูลข่าวสารบุคคลดังกล่าวไม่ถูกต้อง สามารถยื่นคำขอดังกล่าวเป็นหนังสือให้หน่วยงานนั้นแก้ไขข้อมูลได้ สำหรับการเปิดเผย รายงาน รายงานทางการแพทย์ในกรณีที่มีเหตุอันควร เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยให้กับแพทย์ที่บุคคลนั้นมอบหมายก็ได้ หากหน่วยงานของรัฐ ปฏิเสธไม่แก้ไข ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ประชาชนสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ ภายใน 30 วัน
Â
8.สิทธิได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 24
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยโดยไม่ได้รับ ความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลไม่ได้
Â
Â